แผ่นพับ 2514 ขอบคุณทุกท่านที่อุดหนุน ที่สนับสนุน ทั้งทุน ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ทั้งกำลังใจ เราก้าวสู่ปีที่ 21 กันเถอะครับ
คำ
แก้ววรรณา 2019
จากแผ่นพับปี
2541 เติมเชิงอรรถเมื่อวันที่ 2 มกราคม
2562
เมืองแพร่ หนึ่งในแคว้นล้านนา มีหม้อห้อมเป็นสัญลักษณ์ กระบวนการย้อมหม้อห้อมจากธรรมชาติ เป็นหนึ่งซึ่งบ่งชี้ว่าถิ่นนี้มีความหลากหลายของฐานทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ดั้งเดิม.... การหันมาใช้วิธีการย้อมหม้อห้อมแบบธรรมชาติ เป็นการพยายามลดความรุนแรงของปัญหาที่เกิดจากการใช้เคมีในการฟอกย้อมผ้าทั่วไป
ที่มีผลต่อสภาพแวดล้อม ทั้งดิน น้ำใต้ดิน และฝุ่นละอองในอากาศ... [i]
ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองตั้งแต่ปี 2541 โดยมีครู[ii]
อาจารย์ ภูมิปัญญาพื้นบ้านช่วยให้ความรู้ ให้โอกาสทดลอง ให้เมล็ดพันธุ์ ด้วยการค้นคว้าที่หลากหลาย การทดลองที่ซ้ำแล้วซ้ำอีก ความล้มเหลวเป็นบทเรียนล้ำค่าที่สั่งสมไว้
พร้อมทั้งกำลังใจจากหลายส่วน ทั้งคนปลูกห้อม
คนปลูกคราม ตัดหญ้า รดน้ำ พรวนดิน คนย้อม คนทอ คนตัด คนเย็บ คนขาย จนถึงคนซื้อ
แก้ววรรณาจึงได้ผืนผ้าหม้อห้อมที่สวยงาม มีคุณภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการขยายกำลังการผลิต เพิ่มพื้นที่
เพิ่มคนทอผ้า...
ในตลาดนั้น
มีการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการย้อมหม้อห้อมธรรมชาติรายอื่น ๆ
และเกิดเป็นเครือข่ายระหว่างกัน
ทั้งความร่วมมือด้านการค้า และการแข่งขันในคุณภาพ ...
ขณะที่ผู้ซื้อเข้าใจความแตกต่างของหม้อห้อมทั่วไปกับหม้อห้อมธรรมชาติ...[iii]
ส่วนหนึ่งมีความพึงพอใจในสินค้าของแก้ววรรณา ที่มีคุณค่าในรูปแบบที่เรียบง่าย
ไม่ปรุงแต่งซับซ้อน[iv] มีความสุขใจในการใช้หม้อห้อมธรรมชาติแท้ๆ
ที่ช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ไม่มีพิษภัยจากแพรพรรณ
[i]
ในช่วงนั้นความสนใจจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ในหลาย ๆ ปีต่อ ๆ มา จึงเพิ่มเติมเป็นภูมิปัญญา และ มรดกวัฒนธรรม ตามลำดับ
[ii]
หมายถึงทุกคนที่ให้ความรู้ อาจารย์ คือ อาจารย์ในระบบการศึกษา ภูมิปัญญาฯ คือ บรรดา แม่ๆ ป้าๆ
ที่เพิ่มเติมเสริมความรู้ ทั้งในจังหวัดแพร่ และ ภาคอิสาน
[iii]
จากปี 2541 ถึง 2562 เข้าใจมากขึ้น
<< Home