Monday, July 12, 2021

KWN story ดร.เจ เรียบเรียงจากความภาษาไทย ที่ต่อท้าย



Kaewwanna Natural Indigo

1. Brand biography

Wuttikai Phathong, a native of the city of Phrae, founded Kaewwanna Natural Indigo in 1999. His inspiration came from the knoweldge that Phrae, known throughout history as “the indigo capital of the north”, did not have any natural indigo-dyed products, since natural indigo dye had long been replaced with cheaper chemical blue dye. Back then, there was a large craft community in Phrae making and selling “mohom” products, which was a local word for indigo, at an industrial scale. However, these products were dyed with synthetic dyes notorious for colour bleeding. The knowledge of indigo-dye making was nearly lost. This lowered the value of indigo products in Phrae, which were sold cheaply and perceived as having bad quality.

Kaewwanna was born as a collaboration between Wuttikai, a dyer and a weaver. The brand revived the knowledge of natural indigo making and became the first 100% natural indigo brand in the city, which sets precedent for other brands. Products are handwoven and handsewn by a group of local elderly weavers and makers, who are happy to have this job to earn money for their families. Kaewwanna products are known for its simplicity. They consist of clothing as well as home décor products such as traditional mattress, cushion and blanket inspired by the local cultures. Kaewwanna was the only brand among 22 brands from the British Council’s Design & Social Entrepreneurship programme in 2016 identified by IKEA as a potential brand to join the IKEA Social Entrepreneurs programme. It was invited by the National Museum of the Philippines in 2009 to give a workshop on indigo making. It is recognised as a leading natural indigo brand in Thailand and an inspiration for many other brands, working to change the perception of indigo-dyed products from Phrae.


2. How do you feel this designer or brand meets the Fashion Open Studio selection criteria?

Similar to other two Thai brands nominated here, Kaewwanna operates like a social enterprise and ensures that the production process is 100% natural, in order to protect the environment. They don’t use detergent in the making process, but use their own homemade organic cleaning liquid. Since they don’t own cotton plantations, they use factory-made cotton from an eco-friendly producer, while the whole supply chain is fully traceable. 

Working with local artisans, the brand adapts the design of its products and the making process to suit the skills and lifestyles of artisans. For example, the brand makes a large amount of simple handwoven shawls, since it is the style that older weavers can work on without compromising their health. Products are handsewn, even larger pieces like mattresses, since makers can then work on them when they are free from farming work without having to buy sewing machines. These allow makers to carry on with their traditional way of life.

In addition to this, they offer re-dye services to their customers so that products can be reused when colours start to fade. Kaewwanna also looked for a new way to use indigo dye by making indigo ink which can be painted on paper and cloths. The brand believes that doing so is a way to make natural indigo making relevant, even when the production of handwoven textiles is becoming more challenging because of the lack of younger weavers.  


3. How do you feel this designers or brand responds to the COP26 themes of Adaption & Resilience and Nature

Nature

When Wuttikai learned that “hom”, the kind of indigo plants that makes Phrae famous in the past, only grows naturally in the forest in colder, mountainous areas, he identified a village in Phrae where hom grows and works with the villagers to teach them to make indigo paste, which could be sold to anyone wanting to make indigo dye. This action leads to forest conservation, in order to protect the habitat for hom, since hom cannot grow if the forest is not abundant.

He later on looked to source more hom plants, since that village alone can’t supply enough hom for the production. In 2006, he found what he calls “the hundred years old indigo forest”, while on a researching trip, in a village in Lao PDR about 200 kms away from Vientiane. He has also been using indigo paste from there, and in process encourages the conservation of that forest in Lao PDR for the growing of hom.    

Adaption & Resilience 

His work to promote the use of hom has an impact at a provincial scale. As the lead of the Phrae indigo cluster, he has worked to support the geographical indication of hom plants in Phrae and also established Phrae Craft – an annual craft festival in Phrae – engaging the whole Phrae craft community in a wider craft sector, with a focus on the indigo businesses. Phrae Craft allows entrepreneurs and makers to understand themselves in a global context where sustainability is vital if they want to grow. It strengthens the narrative of the city’s natural indigo heritage which, in turn, calls for better environmental protection.  

KWN 2564

ข้าพเจ้า  นายวุฒิไกร  ผาทอง เป็นคนเมืองแพร่ตั้งแต่เกิด  บรรพบุรุษก็เป็นคนแพร่มาหลายชั่วอายุคน  น่าจะมาตั้งแต่อพยพมาจากเชียงแสนหลายร้อยปีแล้ว   ในตู้ผ้าของยายยังมีผ้าห่มแปวที่ทอลวดลายไทยวน มีดาบแบบโบราณพร้อมฝักแขวนอยู่ในห้อง  ที่บ้านเกิด สบสาย  หมู่บ้านที่มีน้ำแม่สายมาบรรจบกับน้ำแม่ยม 1 ใน 4 แควหลักของแม่น้ำเจ้าพระยา

มารดาข้าพเจ้าเป็นครูประชาบาล รุ่นที่จบ ม 6 แล้วสมัครครูได้เลย เริ่มสอนที่บ้านผ้าขาว  โดยปั่นจักรยานจากบ้านสบสาย ระยะห่าง ประมาณ 7 กิโลเมตร  แล้วย้ายมาสอนที่โรงเรียนบ้านสบสายเป็นโรงเรียนที่สองและโรงเรียนสุดท้ายก่อนลาออกเมื่อบิดาข้าพเจ้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่  ดังนั้นโรงเรียนแรกของข้าพเจ้าก็คือโรงเรียนบ้านสบสาย แล้วย้ายมาเรียนในเมืองตามพี่ๆ สมัยนั้นเรานั่งสามล้อ เป็นขบวนจากบ้านสบสายเข้าเมืองระยะทาง 9 กิโลเมตร ไปกลับ เช้าเย็น  ตรงสะพานแม่สายกับสะพานร่องแวง ยังเป็นเนินขึ้นสูง  พี่ๆ ต้องลงช่วยดันสามล้อ  จบจากมัธยมปลายที่จังหวัดแพร่ก็มาจบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  ในปี 2525 อายุได้ 21 ปี

หลังจากนั้นก็เข้าทำงานกิจการโรงบ่มใบยา ของที่บ้าน  เป็นกิจการที่เพาะกล้ายาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย จ่ายให้ชาวไร่ที่ลงทะเบียนแล้วนำไปปลูก  โรงบ่มก็กำกับดุแลเรื่องระยะปลูก ช่วงเวลาใส่ปุ๋ย การกำจัดแมลงศัตรูยาสูบ  แล้วรับซื้อใบสดมาบ่มไอร้อน  พอแห้งก็นำออกเตามาพักทับกองรอคัดเกรดส่งขายโรงงานยาสูบ  การทำกิจการยาสูบทำให้ข้าพเจ้าเกิดความคิดที่อยากมีกิจการอื่น  ที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ  จึงมาศึกษาเรื่องการทำบาติก  เข้าร่วมตั้งบริษัทกับเพื่อน แต่ได้เพียง 4 ปีก็ลาออกมาตั้งกิจการหม้อห้อม

หม้อห้อมแก้ววรรณาเริ่มเกิดขึ้นในปี  2542   (แก้วรรณาเป็นชื่อทวด ชื่อเก่าบิดาข้าพเจ้าคือ ปั๋นแก้ว มารดาชื่อสุวรรณา ชื่อแก้ววรรณาหม้อห้อมจึงมาจากสามคน)  แรงบันดาลใจแรกที่ข้าพเจ้าอยากค้าขายหม้อห้อมคือ คำขวัญจังหวัดแพร่ ( หม้อห้อม ไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง  ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม ) และการที่เห็นว่าจังหวัดแพร่ดูจะไม่มีสินค้าของที่ระลึกเป็นของตัวเอง เป็นประการที่ 2  อันหลังนี้เมื่อข้าพเจ้าได้เป็นอนุกรรมการการท่องเที่ยวของหอการค้าจังหวัดแพร่  ที่คาดหวังไว้ตอนแรกก็เพียงเลือกซื้อมาขายไป และไปย้อมตามช่างย้อมหม้อห้อมที่มีแต่ละหมุ่บ้านและส่งทอตามหมู่บ้านที่มีช่างทอ  การได้สัมผัสกับเรื่องสินค้าจากร้านต่างๆ สัมผัสกับคนย้อมคนทอ  ในฐานะคนค้าขาย สัมผัสกับผู้ประกอบการด้วยกัน  ทำให้เห็นว่าต้องปรับเป็นสินค้าที่แตกต่างมากกว่าธรรมดาจึงจะดึงความสนใจของลูกค้าได้  ประการหนึ่งคือ ของแก้ววรรณาต้องธรรมชาติเท่านั้น

นั่นทำให้   ข้าพเจ้าลองสั่งครามธรรมชาติจากสกลนครมาให้คนย้อม  ผลก็คือ ช่างย้อมในหมู่บ้าน ทำไม่ได้ อาจเพราะเคยชินกับครามผงสังเคราะห์ที่มีขายทั่วไป   ข้าพเจ้าตระเวนนำด้ายที่ย้อมแล้วให้ชาวบ้านที่โน่นที่นี่ทอ  ผลก็คือ ข้าพเจ้ารุ้จักคนทอหลายหมู่บ้าน   แต่จำไม่ได้ว่าเอาอะไรไปไว้ให้ใครเท่าไหร่
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงพยายามมาตั้งหม้อย้อมเองที่ร้าน แต่ก็ยังไม่สำเร็จ  จนกระทั่งได้หม้อห้อมตั้งต้นมาจากยายคะนอง ชาวตำบลวังหลวง ที่ต้องการจะเลิกกิจการหม้อห้อม  ได้ป้าสนมาจากหนองน้ำรัต ได้พยอมมาจากบ้านดอนดี  

ป้าสนเป็นสมาชิกกลุ่มทอผ้าใหม่ที่เราตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าเอาอะไรไปให้ไว้ที่ช่างทอคนไหนหมู่บ้านไหนเท่าไหร่  ผลพลอยได้การนี้คือเส้นด้ายที่เหลือจากการทอแต่ละช่าง จะมียายหงัดและยายนวลนำมาออกแบบทอผ้าคลุมไหล่  โดยไม่เสียออกไปนอกรายการ  การที่ตั้งกลุ่มทอผ้าใหม่นี้ก็ต้องปรับตัวเรื่องออกแบบลายทอ  เป็นลายขัด 2 ตะกอ ตามที่ช่างทำได้ เลิกคิดเรื่องยกดอก 4 ตะกอ  อีก 2 เรื่องที่อยากบันทึกไว้ ณ ที่นี้  คำพูด 2 ประโยค  ประโยคแรกที่ข้าพเจ้ามีแรงฮึดให้ตั้งกลุ่มทอผ้า คือ “ช่วยหน่อย  ให้เงินเข้าบ้านวันละบาทก็ยังดี”   ประโยคที่ 2 ที่ยายหงัดพูดอยู่เสมอทุกวันนี้คือ ถึงไม่มีเงินมาจ่ายค่าทอผ้า ก็มาหาได้นะ  จะมาก็บอกก่อนจะได้เตรียมข้าวปลาอาหารไว้ต้อนรับ  ( เดือน 7 ปีไส้ )

พยอม เป็นพนักงานของบริษัทบาติกเดิมที่ข้าพเจ้าเคยหุ้น  ช่วงที่อยู่บริษัทบาติก  ข้าพเจ้ามักไปนั่งคุยที่ห้องลอกลาย  ที่ทำงานของพยอม  จึงทราบว่าเธอได้ตั้งกลุ่มออมทรัพย์ของหมู่บ้าน   เราจึงก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อแก้ปัญหาเงินกู้เงินยืมของพนักงานในบริษัท  ซึ่งยั่งยืนนับสิบๆ ปี  ต่อมาในปี 2540 เธอลาออกจากบริษัท เพราะเกิดคำถามกับตัวเองว่าตัวเองมีคุณค่าแค่นี้หรือเช้ามาก็ตอกบัตรเข้างาน เย็นก็ตอกบัตรออกงาน   เมื่อเธอลาออกนั้นก็มีคนทักท้วงด้วยว่าปีนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจวิกฤตทั่วโลก   แต่เธอก็ออกมาตั้งร้านของชำที่บ้านพี่สาว  สำเร็จมีคนติดมีลูกค้า  เธอแวะเวียนมาหาข้าพเจ้าหลายครั้ง 

จนกระทั่งเธอยกกิจการให้พี่สาว แล้วมาตั้งต้นเริ่มทดลองเรื่องหม้อห้อมแก้ววรรณา  ข้าพเจ้าถามเธอว่าทำไมมาตั้งต้นเรื่องที่ยังไม่เห็นผลทางรายได้แบบนี้  (เพราะข้าพเจ้าไม่ได้ระบุค่าจ้างว่าจ่ายเป็นรายวันรายเดือนเท่าไหร่ ทั้งป้าสนและพยอม) พยอมก็ตอบว่า อยากจะทำอะไรที่เป็นความดี   แนวคิดเรื่องหม้อห้อมของที่ระลึกเมืองแพร่  ผ้าทอพื้นบ้านหม้อห้อม ก็เป็นเรื่องดี   ที่ย้อมธรรมชาติก็เป็นเรื่องท้าทาย  การส่งเสริมการปลูกห้อมก็ท้าทาย

เมื่อมีคนอยู่ประจำมาดูแลหม้อห้อม   ทำให้แก้ววรรณาย้อมได้ด้วยตัวเองในปี 2544  เรา 3 คนยกทีมไปขอดูงานที่สกลนคร จ้างวานคนรู้จักกันช่วยขับรถ ที่นี่ข้าพเจ้าเคยมาดูแล้ว   แต่ก็อยากให้ทั้ง 2 คนได้ดูด้วย  ก็ไปได้เคล็ดวิชามาจากอิสาน  ผสมผสานกับวิชาทางท้องถิ่นตัวเอง  ที่เก็บเล็กผสมน้อยจากผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนที่ให้ฟัง  แต่ละคนก็จำได้บ้างไม่ได้บ้าง  เป็นเรื่องยากมากสำหรับเราทั้ง 3 คนที่ไม่ได้มีพื้นเพเรื่องหม้อห้อมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ หรือมีคนใกล้ชิดที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้   เรื่องครามเปียกวัตถุดิบหลักนั้น  บางปีเราได้จากบ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร มีอยู่ปีหนึ่งที่ได้มาจากโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี  ความไม่แน่นอนของวัตถุดิบ ทำให้ข้าพเจ้าต้องเร่งเสาะหาแหล่งอื่น  นอกจากที่เคยหวังไว้กับบ้านนาตอง  สถานที่ข้าพเจ้าพบต้นห้อมเป็นครั้งแรกในจังหวัดแพร่ (พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ที่สตูดิโอแน่นหนา  ของอาจารย์แพทริเซีย แน่นหนา)

ปี 2549 ข้าพเจ้ามีโอกาสไป สสป ลาว กับ สปาฟาที่จัดสัมมนาเรื่องการอนุรักษ์ฯ   ข้าพเจ้าได้ไปรู้จักกับนางแสง ผู้จัดส่งใบห้อมมาให้ศูนย์หัตถกรรมห้วยหง ที่นครเวียงจันทน์  ข้าพเจ้าจึงตามไปดูสวนห้อมที่เมืองเฟือง

เดชะบุญที่เป็นสมัยของโทรศัพท์มือถือ   ทำให้ไม่กลัวเรื่องหลง   บ้านนาแซง เป็นหมู่บ้านชนเผ่าไทแดง อยู่ในเขตเมืองเฟือง ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ประมาณ 200 กิโลเมตร ไปครั้งแรกนั้นข้าพเจ้าต้องไปนั่งรถโดยสารที่ท่ารถสีไค ลงบ้านท่า ก่อนถึงเมืองเฟือง จากบ้านท่าไปอีก ประมาณ 8 กิโลเมตร ขอนั่งรถอีแต๊กที่เทวดาจัดสรรมาให้ นั่งไปกับคนลาวที่จะไปทำงานสร้างเขื่อนน้ำลิก  นั่งเรือข้ามน้ำลิก ก็เป็นเทวดาองค์น้อยขับมาจากไหนไม่รู้    ขึ้นฝั่งก็ถามหาบ้านป้าบุญมี  ไม่มีคนรู้จัก  เปลี่ยนเป็นแม่บุญมีจึงรู้จัก (เพราะคนลาวนิยมเรียกชื่อตามลูกคนโต  แม่บุญมีมีบุตรชายบุญธรรมชื่อบุญมี จนบัดนี้ข้าพเจ้าก็จำไม่ได้ว่าชื่อจริงของแม่บุญมีคืออะไร)  บ่ายนั้นเมื่อไปถึง  ก็ขอให้ทั้งพ่อทั้งแม่พาไปดูสวนห้อม

สวนห้อมของชาวนาแซงอยู่ในป่า  มีลำห้วยหล่อเลี้ยงความชุ่มชื้น  ตกทอดกันมาหลายชั่วคน นานนับ 100 ปี  เมื่อเข้าไปเก็บใบก็จะวักน้ำจากลำห้วยขึ้นสาดให้น้ำ  ช่วงไหนที่ควรปลูกใหม่ก็จะเด็ดมาปักชำแล้วใช้กิ่งไม้มาวางทำเครื่องหมายว่าเป็นพื้นที่ปักชำใหม่  สมัยก่อนชาวบ้านน่าจะใช้บ้านใครบ้านมัน  ข้าพเจ้ารู้จักนาแซงปี 2549 ข้าพเจ้าได้น้ำห้อมจาก สปป ลาว นี้  มาใช้ทุกปีตั้งแต่ปี 2552 (มาสะดุดในปี 2563 ด้วยสถานการณ์โควิด)   ข้าพเจ้ารู้จักนาตองในปี 2545 ข้าพเจ้าได้น้ำห้อมมาใช้ในปี 2558    3 ปี กับ 13 ปี  ความแตกต่างที่แฝงเรื่องราวมากมาย

เมื่อข้าพเจ้าไปเยือนนาแซงครั้งหลังๆ  ก็จะเห็นการเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องนั่งรถโดยสารก็ไม่ต้องหัวแดงเพราะฝุ่น  ในปลายปีนี้ (2564)  ถ้าได้ไปก็คงจะนั่งรถไฟไปลงสถานีที่ใกล้ที่สุด  สิ่งที่ข้าพเจ้าคาดหวังไว้ให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดสำหรับนาแซงคือ อาหารพื้นบ้านไตแดงที่แสนอร่อย

มาเรื่องข้อท้าทายประการสำคัญประการหนึ่งในเรื่องค้าขายหม้อห้อมธรรมชาติของแก้ววรรณา  คือความคุ้นชินของคนทั่วไป ที่คิดว่าเป็นสินค้าที่สั่งทำได้แบบเดียวกับสินค้าทั่วไป  ซึ่งต้องอธิบายว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตนั้นมากมาย  

น้ำห้อมจากต้นห้อม  สวนห้อมจะอยู่รอดต้องมีป่าไม้ที่อุดม ชุ่มชื้น  ราคาใบห้อมสดต้องจูงใจเกษตรกรผู้ปลูก  ขณะเดียวกันก็ไม่เป็นภาระต้นทุนเกินไปต่อผู้นำไปผลิตเนื้อห้อม  โดยเทียบกับคุณภาพเนื้อห้อมที่ใช้ในการก่อหม้อย้อม  ต่อมาคือ วิธีการย้อมของช่างย้อม  พยอมจะปรุงหม้อย้อมด้วยพืชพรรณ  ผลไม้ ที่มีกรด มีน้ำตาลธรรมชาติ  ไม่ใช้มะขามเปรี้ยว เมื่อสังเกตว่าหม้อย้อมพร้อมก็ทำการย้อม  อยากได้เข้มก็ย้อมหลายรอบ  หรือหลายหม้อ  ทั้งนี้ ก่อนการย้อมจะมีกระบวนการต้ม ซัก เส้นด้ายเพื่อทำความสะอาดให้แป้งออกจากเส้นไย  

ถัดจากนั้นคือการส่งเส้นด้ายที่ย้อมแล้ว ซักแล้ว แห้งแล้วนั้น  ไปให้กลุ่มช่างทอ  ออกแบบด้วยกันโดยคำนึงถึงธรรมชาติของแต่ละคน  ว่าทอเบาทอหนักเพียงใด  ฟืมทอถี่ห่างกว้างแคบแค่ไหน  อีกประมาณ 4-5 เดือนค่อยไปรับผ้าพร้อมกับนำด้ายย้อมชุดใหม่ไปส่ง

ผืนผ้าที่ได้มาพยอมจะตัดแบ่ง  ให้ความยาวสะดวกในการซักทำความสะอาด  รีดเรียบ ก่อนเก็บรอการนำไปแปรรูปต่อไปยังช่างตัดเย็บด้วยมือที่หมู่บ้านดอนดี ซึ่งเป็นกลุ่มของพี่สาวพยอม ที่ใช้เวลาว่างจากการงานไร่สวนมาตัดเย็บ  การเย็บผ้าด้วยมือทำให้พวกเธอสะดวกต่อการนำไปเย็บในไร่นาได้ตอนพัก  เพราะไม่ต้องมีจักรเย็บผ้า ส่วนการตัดเย็บเสื้อเชิ้ต  ช่วงนี้ยังต้องเสาะหาช่าง   แทนช่างกลที่ถึงแก่กรรมไปปลายปีที่แล้ว

ท้าทายว่า  จะบอกลูกค้าอย่างไรว่าเลือกสินค้าที่เรามีอยู่เถิด  จะได้ไม่ต้องเสียอารมณ์ถ้าสั่งทำแล้วไม่ได้หรือ ไม่เป็นอย่างหวัง    (แต่ถ้าจะลุ้นไปด้วยกันก็ได้  ไม่ว่ากัน)

ประสบการณ์ในแต่ละขั้นของการประกอบกิจการ  ปรับรูปแบบปรับเป้าหมายขององค์กรไปแทบจะคนละทิศ   

จากที่อยากมีรายได้ก้อนใหญ่จากการขายของที่ระลึกทั่วไป  มาเพิ่มให้พิเศษว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 
 พอเป็นหม้อห้อมก็กลายเป็นมรดกวัฒนธรรมได้เปรียบเทียบเรียนรู้กับชนชาติต่างๆ ที่มีหม้อห้อม หรือ indigo    

เป็นความสนใจในเชิงทดลอง   เราจะลองสิว่า  ถ้าย้อมแบบธรรมชาติจริงๆ จะพาเราไปได้ระดับไหน   
ใช้หลักคิด “เอาที่เราใช้”  ที่ว่าไปก็คล้ายๆ กับ “ปลูกอันที่กิน  กินอันที่ปลูก”  

แล้วต้นห้อมต้องปลูกในที่ชุ่มชื้นของป่าเขา  จึงทำให้ต้องไปเกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อม  ว่าหม้อห้อมเป็นส่วนประกอบของป่าที่โลกนี้อยากให้มีป่าเยอะๆ ด้วยภาวะโลกรวน ที่ปั่นป่วนไปหมด  
    
เมื่ออยากมีรายได้จากขายผ้าหม้อห้อม ก็ต้องศึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงความสามารถที่มีของช่างทอ  ไม่ให้แขย่ง   รูปแบบไม่ซับซ้อนเข้ากับโครงสร้างผ้าที่ไม่ซับซ้อน   ซึ่งคงเป็นคนละทางเดินกับแฟชั่น   (แฟชั่นที่มาเร็วไปเร็ว   ต้องผลิตมากๆ  ผลิตเร็วๆ ให้ทันตลาด) 

ของเรานั้น คนทำได้อยู่กับบ้าน ได้อยู่กับเรือกสวนไร่นา ทำตอนว่างงานหลัก  .....

อย่างไรก็ดี   ปีนี้ก็เข้าปีที่ 22 ของ “แก้ววรรณา” ถ้ารายได้ไม่หอมหวนชวนคนรุ่นใหม่เข้ามา   พละกำลังที่จะทำต่อก็คงหดหายไปตามอายุของ ทีม 3 คน  แต่คิดว่าคำว่า “หม้อห้อม”  ยังคงอยู่คู่เมืองแพร่  ในรูปแบบอื่นๆ ที่ผู้คนจะประยุกต์  ส่วนใครจะดื้อดึงใช้คำว่า หม้อห้อมธรรมชาติ โดยไม่คำนึงถึงความจริง   ก็แล้วแต่ลูกค้าว่าจะทันกันอย่างไร   ในยุคสมัยที่ข้อมูล  หาได้ง่าย เฟคได้ง่าย  จากปลายนิ้ว  แบบนี้