Wednesday, January 10, 2007

ขายของที่โอทอปซิตี้ 2006

ขายของที่โอทอปซิตี้ 2006
ปี ๒๕๔๙ ช่วงวันที่ ๑๖-๒๔ ธันวาคม ในงานโอทอปซิตี้ คลัสเตอร์หม้อห้อมแพร่ได้มีโอกาสรวมทีมไปเรียนรู้ด้านการตลาด การจัดการ ด้วยการปฏิบัติจริงโดยมีพี่เลี้ยงใหญ่คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ช่วยกำหนดแนวทางรวมถึงคัดสรรสินค้าเข้าบูท เพื่อประกันคุณภาพให้ลูกค้าได้มั่นใจจุดประสงค์หลักของการจัดพื้นที่ ประมาณ ๑๐๐๐ ตารางเมตรนี้
โดยใช้ชื่อว่าเมืองหม้อห้อม ก็เพื่อเชิดชูคุณค่าของหม้อห้อม และเผยแพร่แนวคิดการพัฒนาหม้อห้อมธรรมชาติในด้านต่าง ๆดังนั้น จึงมีทั้งส่วนแสดงแฟชั่นหม้อห้อมที่ออกแบบโดย ม.รังสิตเดินแฟชั่นโดยนางแบบมืออาชีพ สาธิตการทอผ้าหม้อห้อมเนื้อยีนส์โดยกี่กระตุกสาธิตการย้อม เขียนเทียนหม้อห้อม แสดงหม้อห้อมผ้าจกรวมถึงจัดแสดงสินค้าหม้อห้อมที่ผลิตได้หลากหลาย เป็นทั้งเครื่องใช้ ของใช้และ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากการขายในงาน
เราได้ข้อสรุปว่า ต้องนำเสนอผลิตภัณฑ์เหล่านี้ขึ้นบนเวปไซต์เพื่อให้เกิดผลทางธุรกิจต่อไป อย่างตรงตามศักยภาพที่มีอยู่และเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะพัฒนาไปให้ไกลมากขึ้นเราเอาของใครบ้างที่ไปขายในงาน สินค้าทั้งหมดได้จากผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าเข้ามาคัดเลือก โดยคัดจากเกณฑ์สำคัญคือเป็นสินค้าที่ย้อมจากหม้อห้อมธรรมชาติ(ซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงการจัดการหลังย้อม) และ เป็นสินค้าที่ได้คุณภาพในเกณฑ์แรกเราใช้ระบบความซื่อสัตย์ว่าใครทำอย่างไรส่วนเรื่องคุณภาพให้เจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นผู้ตรวจสอบเลือกสินค้าเข้าร้าน จากสินค้าทั้งหมดประมาณ ๓๐๐ รายการ คัดเลือกเหลือไม่ถึง ๒๐๐ รายการจัดทีมพนักงานขายอีก ๑๑ และ ๓ ผู้ประสานงาน ทำหน้าที่บริหารงานขายในร้านยอดขายได้ทั้งสิ้น ๕๗๐,๐๐๐ บาท (น้อยกว่าปี ๒๐๐๕ ไปหลักแสนอาจเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจ หรือ ประเภทของสินค้าที่น้อยลงไป)ท้ายบันทึกนี้ จึงขอแจ้ง รายชื่อผู้ประกอบการ และ รายชื่อพนักงานขายที่เข้าร่วมโครงการ เรียงตามลำดับตัวอักษร
การพัฒนาต่อไปต้องทำ ๓ ด้านด้านแนวคิด ด้านวิธีการผลิต ด้านประชาสัมพันธ์ รวมถึงการหาแนวร่วมปฏิบัติการจากการที่ได้ล้มลุกคลุกคลานมากับหม้อห้อมย้อมธรรมชาติ ๗-๘ ปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าเชื่อว่า การดำเนินกิจการทุกอย่างที่สำเร็จส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับความรักในผลผลิต รักในงาน เป็นประการแรกเมื่อทำแล้วจึงจะก่อเกิดลูกค้า หรือ ศรัทธาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้วจึงจะเป็นการอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างยั่งยืนข้าพเจ้าเชื่อว่าที่เราพูดความจริงกับลูกค้าท้ายที่สุดแล้วเราได้เพื่อนร่วมทาง ไม่ใช่มองหน้ากันไม่ติดเพราะไปหลอกเขาเสียก่อนเพื่อจะฟันหัวเข้าบ้านตั้งแต่แรกแล้วข้าพเจ้าเชื่ออีกว่า เมืองแพร่นี้แคบนักรู้จักกันไปหมดว่าใครทำอะไร ต่อมาข้าพเจ้าก็พบว่าเมืองไทยนี้ก็แคบคนในวงการเดียวกันก็จะรู้จักกันไปหมด ฉะนั้นแล้ว คำว่าโลกไร้พรมแดนก็เป็นคำที่เป็นจริงอย่างแน่นอน ลูกค้าที่แท้จริง คนธาตุเดียวกันก็จะมารวมกันสื่อสารกันได้ คนเหล่านี้เป็นคนที่เห็นสาระสำคัญในหม้อห้อม ทั้งวิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพโจทย์ใหญ่ของเราน่าจะเป็น๑. เราจะตอบสนองสิ่งที่จำเป็น ( “Needs” not “Wants” )เพื่อเสริมศักยภาพสลายข้อจำกัดของแต่ละผู้ผลิต ได้อย่างไร ในเงื่อนไขที่ซ้อนเข้ามาอีกคือเราจะพัฒนาอย่างไรให้คนผลิตเห็นทั้ง วิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ๒. เราจะพัฒนาอย่างไรให้คน/หน่วยงานที่ส่งเสริมเห็นทั้งวิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ๓. เราจะสื่ออย่างไรให้คนทั้งหลาย เห็น วิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่เป็นมรดกวัฒนธรรมมาช้านาน โดยเชื่อมโยงไปหาแนวคิด“ความพอเพียง” และ “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”ในการที่จะเชื่อมร้อยโลกเข้าด้วยกันอย่างมีคุณค่าทั้งผู้เยือน และ ฝ่ายเหย้าเมื่อเราเห็นธงใหญ่ และเราจะปักธงเล็ก ๆ ได้อย่างไร กิจกรรมควรจะเป็นอย่างไรการสนับสนุนทรัพยากรไปหาแกนหลัก แกนรองอย่างไร",1]
);
//-->
การพัฒนาต่อไปต้องทำ ๓ ด้านด้านแนวคิด ด้านวิธีการผลิต ด้านประชาสัมพันธ์ รวมถึงการหาแนวร่วมปฏิบัติการจากการที่ได้ล้มลุกคลุกคลานมากับหม้อห้อมย้อมธรรมชาติ ๗-๘ ปีที่ผ่านมาข้าพเจ้าเชื่อว่า การดำเนินกิจการทุกอย่างที่สำเร็จส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับความรักในผลผลิต รักในงาน เป็นประการแรกเมื่อทำแล้วจึงจะก่อเกิดลูกค้า หรือ ศรัทธาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้วจึงจะเป็นการอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างยั่งยืนข้าพเจ้าเชื่อว่าที่เราพูดความจริงกับลูกค้าท้ายที่สุดแล้วเราได้เพื่อนร่วมทาง ไม่ใช่มองหน้ากันไม่ติดเพราะไปหลอกเขาเสียก่อนเพื่อจะฟันหัวเข้าบ้านตั้งแต่แรกแล้วข้าพเจ้าเชื่ออีกว่า เมืองแพร่นี้แคบนักรู้จักกันไปหมดว่าใครทำอะไร ต่อมาข้าพเจ้าก็พบว่าเมืองไทยนี้ก็แคบคนในวงการเดียวกันก็จะรู้จักกันไปหมด ฉะนั้นแล้ว คำว่าโลกไร้พรมแดนก็เป็นคำที่เป็นจริงอย่างแน่นอน ลูกค้าที่แท้จริง คนธาตุเดียวกันก็จะมารวมกันสื่อสารกันได้ คนเหล่านี้เป็นคนที่เห็นสาระสำคัญในหม้อห้อม ทั้งวิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพโจทย์ใหญ่ของเราน่าจะเป็น๑. เราจะตอบสนองสิ่งที่จำเป็น ( “Needs” not “Wants” )เพื่อเสริมศักยภาพสลายข้อจำกัดของแต่ละผู้ผลิต ได้อย่างไร ในเงื่อนไขที่ซ้อนเข้ามาอีกคือเราจะพัฒนาอย่างไรให้คนผลิตเห็นทั้ง วิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ๒. เราจะพัฒนาอย่างไรให้คน/หน่วยงานที่ส่งเสริมเห็นทั้งวิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ๓. เราจะสื่ออย่างไรให้คนทั้งหลาย เห็น วิถีหม้อห้อมในด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่เป็นมรดกวัฒนธรรมมาช้านาน โดยเชื่อมโยงไปหาแนวคิด“ความพอเพียง” และ “การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”ในการที่จะเชื่อมร้อยโลกเข้าด้วยกันอย่างมีคุณค่าทั้งผู้เยือน และ ฝ่ายเหย้าเมื่อเราเห็นธงใหญ่ และเราจะปักธงเล็ก ๆ ได้อย่างไร กิจกรรมควรจะเป็นอย่างไรการสนับสนุนทรัพยากรไปหาแกนหลัก แกนรองอย่างไร

Thursday, January 04, 2007

สวัสดีปีใหม่ครับ
ขอความสงบสุขจงมีต่อทุกท่าน และ ประเทศสยาม
ผมพยายามอับเดทบล้อก แต่ทำไม่ได้ อยากรางานเรื่องไปจัดงานที่โอทอปซิตี้ 2006 น่ะครับ คลัสเตอร์หม้อห้อมไปได้สวย เห็นพัฒนาการ และหน่วยงานก็เห็นแนวทางเยอะมาก