Saturday, December 22, 2012

ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟิลิบปินส์



ตั้งต้นมาได้ระยะหนึ่ง  ในปี ๒๕๔๗ แก้ววรรณาก็รู้จักกับศูนย์โบราณคดีและวิจิตรศิลป์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (semeo spafa) ต่อเนื่องมากับงานของข่ายลูกหลานเมืองแพร่  ที่ต้องการเชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น   เราถือว่าหม้อห้อม เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับโฉม ปรุงรสให้เข้ากับยุคสมัย   เป็นตัวอย่างการพัฒนาต่อยอด  และ เป็นตัวอย่างหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งมวลที่ชุมชนได้ลุกขึ้นมาประกาศให้คนทั่วไปได้รับรู้
            ซีมีโอ สปาฟา เป็นองค์กรของรัฐบาล ๑๓ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมกัน่ให้การสนับสนุน  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่ประเทศสมาชิกรวมถึงภาคีประเทศนอกภูมิภาคที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องกัน
            การรู้จักกับซีมีโอ สปาฟา  จึงเกิดการสัมมนาเรื่องมรดกวัฒนธรรม  การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่าง ๆ กับเหล่าประเทศทั้งหลายดังกล่าวแล้ว  และ ทำให้ประเทศฟิลิบปินส์ โดยพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟิลิบปินส์   ได้เชิญให้คนย้อมของแก้ววรรณาไปเล่าเรื่องให้คนปินอยฟัง
            ข้อเขียนนี้ เป็นบันทึกความรู้ทั่วไป  และ สิ่งละอันพันละน้อยที่ได้จากประสบการณ์ครั้งนี้
            ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนให้เกิดประสบการณ์ครั้งนี้

สาธิตการใช้หมึกหม้อห้อม

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานเสวนา

บางคนก็เตรียมใบไม้แบบนี้ทำลวดลาย

หมึกที่รอดพ้นจากแรงดันอากาศบนเครื่องบิน

สกรีนแล้วก็รอซักน้ำเปล่า

คุณเจอรามีผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์กับดอกเตอร์แอนนาผู้ช่วย

สมาธิดีจัง

ดอกเตอร์เจทำหน้าที่มอบของที่ระลึกให้วุฒิสมาชิก

วุฒิสมาชิกอันดับหนึ่งของฟิลิบปินส์ชื่นชอบผ้าเรามาก