Saturday, February 18, 2017

แผ่นพับ เล่าความจริงของแก้ววรรณา




พืชที่คนภาคเหนือเรียกรวมๆ ว่าห้อมมี 3 อย่าง คือ 
ต้นคราม (ใบเล็ก) ชอบที่แห้งชอบแดด 
ต้นห้อม (ใบใหญ่) ชอบที่ชุ่มชื้น แดดรำไร  
ต้นเบิก (เป็นเถา) อยู่ได้ทั้งรำไรและแดด  
วิธีการได้น้ำห้อม ทำแบบเดียวกัน คือ แช่เอาน้ำมาตีกับปูน 
แล้วปล่อยให้ตกตะกอน 
ก่อนเข้าสู่กระบวนทำหม้อย้อม

จากต้นห้อมที่ปลูกในป่า    มีป่าได้ปลูกต้นห้อม 
คนทำน้ำห้อมมีรายได้ เพราะรักษาป่าไว้ปลูกห้อม
ชาวบ้านนาตอง  ( อ.เมืองแพร่) ชาวบ้านนาแซง
(แขวงเวียงจันทน์)    ทำน้ำห้อม ส่งมาที่แก้ววรรณา
พยอมเอาน้ำห้อมมาเติมหม้อย้อม  ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติทั้งหมด 
น้ำด่าง (จากน้ำหยดผ่านขี้เถ้า)   น้ำปูน (ที่แช่ปูนขาว/ปูนแดง) 
กล้วย มะกรูด   เปลือกเพกา สับปะรด ท่อนอ้อย ตามที่หาได้              
หม้อพร้อมย้อมก็ได้ย้อม ไม่พร้อมไม่มีสีก็ต้องรอ ไม่รู้กี่วัน  
ย้อมกี่รอบก็แล้วแต่ความเข้มที่ต้องการ สามรอบก็สามวัน  




รวบรวมเส้นด้ายที่ย้อมได้ ภายใน 3-4 เดือน  
ไปส่งให้ช่างทอที่บ้านหนองน้ำรัต   
เราออกแบบลายผ้ากันตอนนั้น ตามเส้นด้ายที่มี  
อีก 4-5 เดือนข้างหน้าก็จะเห็นผลว่าสวยงามอย่างไร  
นี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราทำซ้ำลายเดิมได้ยาก    
ส่วนยายอ้อนก็ติดป้ายและทำชายผ้าคลุ่มไหล่
ที่ยายหงัดทอด้วยกันกับยายนวล


ผ้าที่ทอแล้ว  นำมาซัก และส่งต่อให้กับช่างเย็บ 
เป็นเสื้อ เป็นเตี่ยวสะดอ  อาจเป็นช่างในหนองน้ำรัตบ้าง 
แต่ส่วนใหญ่จะเป็นช่างเย็บบ้านดอนดี  
ที่มักจะนำผ้าไปเย็บด้วยตอนว่างเวลาไปนาไปสวน