Wednesday, October 03, 2007

แก้ววรรณาหมายถึงสามคน

ในหนังสือเล่มหนึ่ง เขียนถึงแก้ววรรณาว่าเป็นการสืบสานเรื่องหม้อห้อมมาสามรุ่น ที่จริงไม่ใช่ เพราะเราเพิ่งมาศึกษาประมาณ ๗-๘ ปีที่แล้ว ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการเข้าใจผิดน่าจะมาจากชื่อแก้ววรรณา ที่ความหมายมาจากคน ๓ คน คือทวดชื่อ แก้ววรรณา ชื่อเก่าพ่อผจญที่ชื่อปั๋นแก้ว และ แม่ชื่อสุวรรณา

ลายปู่ละหึ่ง และลาบฉลุบ้านวงศ์บุรี


พยอมทำเสื้อลายใหม่ อีก ๒ กลุ่มลาย ลายปู่ละหึ่ง และลาบฉลุบ้านวงศ์บุรี ลายปู่ละหึ่งนำมาจากภาพเขียนของจักรพันธ์ ศรีเพชร ที่วาดประกอบการศึกษาเรื่องเมืองแพร่ ส่วนลายบ้านวงศ์บุรีนั้น ชินวร ชมภูพันธ์ วาดขึ้นเพื่อบันทึกไว้ในชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นบ้านเมืองแพร่ ที่ต้องบอกมากกว่านั้น คือ การขึ้นลายนี้มาจากวิธีธรรมชาติล้วน ๆ ไม่ใช่การสกรีนสีน้ำมัน หรือ สีสกรีนเสื้อ

กิจกรรม เนื้อหา และ ค่าใช้จ่าย

กิจกรรม เนื้อหา และ ค่าใช้จ่าย
กำหนดไว้เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐

๑. ประวัติ ความเป็นมาของหม้อห้อมโดยสังเขปของจังหวัดแพร่ และ ของโลก
๒. รู้จักความแตกต่างระหว่าง ผ้าหม้อห้อมธรรมชาติดั้งเดิม และ ผ้าหม้อห้อมทั่วไปในปัจจุบัน
๓. รู้จักต้นห้อม ต้นคราม และ ต้นเบิก พืชสามชนิดของเมืองแพร่ที่ใช้ย้อมหม้อห้อม
๔. กระบวนการทำสีหม้อห้อมจากพืชทั้งสามชนิด
๕. กระบวนการทำน้ำด่าง
๖. กระบวนการหมักเพื่อให้เกิดสี
๗. กระบวนการย้อมเพื่อให้ได้สีตามต้องการ
๘. กระบวนการเตรียมฝ้าย ผ้า ก่อนย้อม โดยไม่ใช้สารเคมี
๙. กิจกรรมย้อมผ้า

หมายเหตุ
๑. คิดค่าใช้จ่าย ๒๐๐ ต่อคน สำหรับปฏิบัติการย้อม และ เสื้อยืดขนาดกลางที่ใช้ย้อม ๑ ตัว ย้อมแล้วนำกลับไปบ้านได้
๒. กรณีมาศึกษาเป็นหมู่คณะ ตั้งแต่ ๑๕ คนขึ้นไป จะมีวิทยากร ๒-๓ คน
๓. หัวข้อที่ ๔ ต้องใช้ใบห้อมสด จึงต้องทราบล่วงหน้าเป็นสัปดาห์
๔. ทางศาลาแก้ววรรณามีบริการอาหารกลางวัน ทุกวัน ราคาถูก หากต้องการกับข้าวพื้นเมืองก็จะเตรียมให้ได้ในราคาพิเศษ